เคล็ดลับ 12 ข้อสำหรับ การเขียนโค้ดให้ดีขึ้น
การเขียนโค้ดที่ดูง่าย (Clean code) นั้นช่วยให้ซอฟต์แวร์ของเรามีความปลอดภัยมากขึ้น ง่ายต่อการบำรุงรักษา และมีประสิทธิภาพในระยะยาว ในบริบททางวิชาชีพ มันทำให้งานของเราเข้าใจง่ายสำหรับผู้อื่น สามารถทบทวน ดีบั๊ก (Debugs) และแก้ไขได้ง่ายขึ้น ในฐานะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เราไม่ได้เขียนโค้ดสำหรับเครื่องจักรเท่านั้น แต่เรายังเขียนสำหรับมนุษย์ด้วย
โค้ดที่ดูง่าย (Clean code) คืออะไร?
- อ่านได้ง่าย (Readability)
โค้ดควรอ่านและเข้าใจได้ง่ายในขณะแรกเห็น ซึ่งรวมไปถึงการใช้ชื่อตัวแปรและฟังก์ชันที่ชัดเจนและมีคำอธิบาย รวมทั้งการใช้ช่องว่างขาว การเยื้องบรรทัด และการขึ้นบรรทัดใหม่อย่างถูกต้องเพื่อนำทางสายตาของผู้อ่าน
- ความเรียบง่าย (Simplicity)
โค้ดควรเรียบง่ายเท่าที่จะทำได้ โดยไม่มีความซับซ้อนที่ไม่จำเป็น ซึ่งหมายถึงการหลีกเลี่ยงวิธีการแก้ปัญหาที่ฉลาดแต่เข้าใจยาก การรักษาความเล็กและเจาะจงของฟังก์ชันและโมดูล และการลดการพึ่งพากันระหว่างส่วนต่างๆ ของโค้ด
- ความสื่อความหมาย (Expressiveness)
โค้ดควรสื่อความตั้งใจของนักพัฒนาอย่างชัดเจน นั่นหมายถึงการหลีกเลี่ยงการใช้ "Magic numbers (ค่าตัวเลขในโค้ดที่ไม่มีความหมายชัดเจนหรือปรากฏหลายครั้ง)" และรหัสลับที่ยากต่อการเข้าใจ และแทนที่ด้วยค่าคงที่และฟังก์ชันที่มีชื่อดีและอธิบายได้ชัดเจนว่ามันทำอะไร
- ความสามารถทดสอบได้ (Testability)
โค้ดควรทดสอบได้ง่าย เพื่อให้สามารถทดสอบฟังก์ชันหรือเรียกใช้โมดูลแต่ละอย่างได้โดยอิสระ นอกจากนี้ยังรวมถึงการเขียนการทดสอบสำหรับโค้ดของคุณและใช้การทดสอบเหล่านั้นเป็นแนวทางในกระบวนการพัฒนาของคุณ
ตอนนี้ลองมาดูเคล็ดลับ 12 ข้อสำหรับการเขียนโค้ดที่สะอาด เพื่อความเรียบง่าย ตัวอย่างโค้ดจะใช้ JavaScript
1. การตั้งชื่อที่ดีขึ้น
ใช้รูปแบบการตั้งชื่อที่ใช้งานง่ายและมีความหมายเพื่อให้แน่ใจว่าโค้ดของคุณสามารถอ่านและเข้าใจได้มากขึ้น ใน JavaScript เป็นเรื่องปกติที่จะใช้ CamelCase สำหรับการตั้งชื่อตัวแปรและฟังก์ชัน ในขณะที่ PascalCase ใช้สำหรับตั้งชื่อคลาส
// Bad practice
let firstname = 'John';
let LastName = 'Doe';
function calculateage(birthYear) {...}
class people {}
// Good practice
let firstName = 'John';
let lastName = 'Doe';
function calculateAge(birthYear) {...}
class People {}
การเริ่มชื่อฟังก์ชันด้วยคำกริยา (Verbs) จะทำให้โค้ดของคุณชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นการบ่งชี้ว่าฟังก์ชันกำลังดำเนินการอะไร
// Not recommended
function name() {...}
// Recommended
function getName() {...}
โค้ดของคุณควรพยายามอธิบายตนเอง การใช้ชื่อตัวแปร ฟังก์ชัน และโมดูลที่ชัดเจนและสื่อความหมายจะทำให้โค้ดของคุณอ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น
// Not recommended
let d = new Date();
let y = d.getFullYear();
// Recommended
let currentDate = new Date();
let currentYear = currentDate.getFullYear();
2. ทำให้ฟังก์ชันของคุณมีขนาดเล็ก เน้นคุณภาพ
หลักการทั่วไปที่ดีคือฟังก์ชันควรทำสิ่งหนึ่งที่ทำได้ดี หากฟังก์ชันหนึ่งทำงานหลายอย่าง ก็เป็นสัญญาณว่าจำเป็นต้องแบ่งออกเป็นฟังก์ชันที่เล็กลงและเน้นมากขึ้น
// Not recommended
function handleDeveloper() {
// code to validate developer data
// code to save developer data
// code to send a welcome email
}
// Recommended
function validateDeveloperData() {...}
function saveDeveloperData() {...}
function sendWelcomeEmail() {...}
3. หลีกเลี่ยงการทำซ้อนใน (Nesting) ที่ลึกเกินไป
โค้ดที่ซ้อนในลึก (Deep nesting) อาจอ่านและทำความเข้าใจได้ยาก พยายามทำให้โค้ดของคุณแบนราบที่สุด
// Bad practice
if (condition1) {
if (condition2) {
if (condition3) {
// Do something
}
}
}
// Good practice
if (!condition1) return;
if (!condition2) return;
if (!condition3) return;
// Do something
4. ใช้ความคิดเห็น (Comments) เท่าที่จำเป็น
แม้ว่าความคิดเห็นจะมีประโยชน์ แต่ก็ไม่ควรใช้เป็นเครื่องช่วยอธิบายโค้ดที่ซับซ้อนหรือเขียนไม่ดี โค้ดที่ดีควรอธิบายได้ในตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้อย่างเหมาะสม ความคิดเห็นสามารถชี้แจงวัตถุประสงค์และการทำงานของโค้ดของคุณได้
// Bad practice
let x = 10; // setting x to 10
// Good practice
// If we reach this point, the user is eligible for the discount
let isDiscountEligible = true;
5. ทำฟังก์ชันของคุณให้เพียว
ฟังก์ชันเพียว (Pure functions) คือฟังก์ชันในการเขียนโปรแกรมที่ให้เอาต์พุต (Out put) เดียวกันสำหรับอินพุต (In put) ชุดเดียวกัน ไม่ว่าจะเรียกกี่ครั้งก็ตาม ฟังก์ชันเหล่านี้ไม่รักษาสถานะใดๆ ระหว่างการประมวลผลหรือสร้างผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งหมายความว่าฟังก์ชันเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลงหรือส่งผลต่อข้อมูลหรือตัวแปรภายนอก ฟังก์ชันเพียวจะทำให้โค้ดของคุณทดสอบและดีบั๊กได้ง่ายขึ้น
// Bad practice
let age = 25;
function incrementAge() {
age++;
}
// Good practice
function incrementAge(age) {
return age + 1;
}
6. จำกัดขอบเขตของตัวแปร
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวแปรร่วมเนื่องจากอาจทำให้เกิดการพึ่งพาระหว่างส่วนต่างๆ ของโค้ดของคุณได้ แต่ให้กำหนดขอบเขตตัวแปรให้ใกล้เคียงที่สุดแทน
// Bad practice
let counter = 0;
function incrementCounter() {
counter++;
}
// Good practice
function createCounter() {
let counter = 0;
function incrementCounter() {
counter++;
}
return incrementCounter;
}
7. จัดการกับข้อผิดพลาด (Errors) ให้ดี
การจัดการข้อผิดพลาดเป็นส่วนสำคัญในการเขียนโค้ดที่ดูง่ายและมีประสิทธิภาพ เป็นการดีกว่าเสมอที่จะคาดการณ์ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นและจัดการกับข้อผิดพลาดเหล่านั้นอย่างดี
// Bad practice
function divideNumbers(x, y) {
return x / y;
}
// Good practice
function divideNumbers(x, y) {
if (y === 0) {
throw new Error('Cannot divide by zero');
}
return x / y;
}
8. ใช้หลักการ DRY (Don't Repeat Yourself) หรือ ไม่ควรทำซ้ำ
หลีกเลี่ยงการเขียนโค้ดซ้ำกัน หากคุณพบว่าตัวเองเขียนโค้ดเดียวกันในหลายจุด ให้พิจารณาสร้างฟังก์ชันขึ้นมา
// Bad practice
let x = y * 10;
let z = w * 10;
// Good practice
function multiplyByTen(num) {
return num * 10;
}
let x = multiplyByTen(y);
let z = multiplyByTen(w);
9. กำหนดค่าคงที่สำหรับตัวเลข (Number) และสตริง (Strings) ที่คาดเดาความหมายยาก
ตัวเลขหรือสตริงที่มีความหมายไม่ชัดเจน ควรเก็บไว้ในค่าคงที่จะดีกว่า
// Bad practice
if (status === 1) {
// Do something
}
// Not recommended
const salary = 40 * 15.50;
// Good practice
const ACTIVE_STATUS = 1;
if (status === ACTIVE_STATUS) {
// Do something
}
// Recommended
const HOURS_PER_WEEK = 40;
const HOURLY_RATE = 15.50;
const salary = HOURS_PER_WEEK * HOURLY_RATE;
10. จำกัดพารามิเตอร์ของฟังก์ชัน
หลีกเลี่ยงการใช้พารามิเตอร์จำนวนมากในฟังก์ชัน เนื่องจากอาจทำให้โค้ดของคุณสับสนและยากต่อการบำรุงรักษา หากคุณต้องส่งค่าหลายค่า ให้พิจารณาใช้อ๊อบเจ็ค (Object)
// Not recommended
function displayDeveloper(firstName, lastName, address, phoneNumber, email) {...}
// Recommended
function displayDeveloper(developer) {...}
โดยการส่งอ๊อบเจ็ค Developer
เพียงอันเดียว เราสามารถกำหนดขอบเขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องและทำให้การเรียกใช้ฟังก์ชันง่ายขึ้น
11. งดการใช้ Dependenciesให้น้อยที่สุด
การใช้ Dependencies ที่มากเกินไปอาจทำให้โค้ดของคุณยากต่อการบำรุงรักษาและการทดสอบ ควรใช้ให้น้อยที่สุด และจัดการอย่างเหมาะสม
// Not recommended
class MyService {
constructor() {
this.dep1 = new Dependency1();
this.dep2 = new Dependency2();
this.dep3 = new Dependency3();
}
// ...
}
// Recommended
class MyService {
constructor(dep) {
this.dep = dep;
}
}
12. ปรับปรุงโค้ดอย่างสม่ำเสมอ
โค้ดสามารถกลายเป็นสิ่งที่สับสนได้อย่างรวดเร็วหากไม่มีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ จงใช้เวลาในการปรับปรุงโครงสร้างของโค้ดและกำจัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปเป็นประจำ
// Before refactoring
function processOrder(order) {
validateOrder(order);
calculateTotal(order);
printReceipt(order);
}
// After refactoring
function processOrder(order) {
if (!isValid(order)) {
throw new Error('Invalid order');
}
let total = calculateTotal(order);
printReceipt(order, total);
}
บทสรุป
การเขียนโค้ดที่ดูง่าย (Clean code) ต้องใช้ความพยายามและวินัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำให้โค้ดของคุณทำงานได้เท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้โค้ดของคุณทำงานได้ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต
โปรดจำไว้ว่า การเขียนโค้ดที่สะอาดเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและต้องฝึกฝนอยู่เสมอ ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ คุณสามารถทำให้โค้ดของคุณอ่านง่าย เข้าใจง่าย และบำรุงรักษาง่ายขึ้น
ขอให้สนุกกับการเขียนโค้ดนะ!
ที่มา: https://zacharylee.substack.com/p/12-quick-tips-for-writing-clean-code
Comments ()