![ทำ Google storage ให้เป็นชื่อโดเมนของเราเองด้วย Load balancing](/content/images/size/w1120/format/webp/2022/01/how-to-connect-domain-to-google-storage.jpg)
ทำ Google storage ให้เป็นชื่อโดเมนของเราเองด้วย Load balancing
ปกติเวลาเราสร้าง google storage แล้วเราจะได้ url ในการเรียกชื่อไฟล์ด้านในของเราเป็น https://storage.googleapis.com/champ-backup/avatar-500-500.jpeg
ประมาณนี้ คราวนี้ผมอยากให้มันเรียกเป็นชื่อโดเมนที่เรากำหนดเองได้ เช่น https://media.snappytux.com/avatar-500-500.jpeg
ดูน่าใช้งานกว่าใช่ไหมละ มาดูวิธีทำกัน
วิธีการเชื่อมโดเมนของเรากับ Google storage
1. ทำให้ Google storage เป็นแบบ public ก่อน
ทำการเปิดสิทธิ์ให้ google storage ของเรานั้นเป็นแบบ public ซะก่อน ทำตามนี้
![](https://snappytux.com/content/images/2022/01/how-do-you-make-public-in-google-cloud-storage.jpg)
2. ไปที่เมนู Load balancing
ไปที่เมนู Load balancing แล้วคลิก Create load balancer
![Google load balancing](https://snappytux.com/content/images/2022/01/google-load-balancing.png)
3. สร้าง HTTP(S) Load Balancing
คลิก HTTP(S) Load Balancing
![HTTP(S) Load Balancing](https://snappytux.com/content/images/2022/01/HTTP-S--Load-Balancing.png)
4. กำหนดตามรูป
![Create a load balancer](https://snappytux.com/content/images/2022/01/create-https-load.png)
5. กำหนดค่า Backend config
ในส่วนของ Name ก็ตั้งชื่อ load balancer จากนั้นดูด้านขวา จะเป็นการเลือกว่าในส่วนของ Backend เราจะให้เชื่อมกับอะไร เราก็เลือกเป็น Create a backend bucket
![Create a backend bucket](https://snappytux.com/content/images/2022/01/backend-config.png)
6. เลือก bucket ที่เราต้องการ
ตั้งชื่อ Backend bucket name ตามต้องการ จากนั้นไป Browse เลือก Bucket ที่เราจะทำ ถ้าต้องการให้มันช่วย Cache ด้วยก็ติ้ก Enable Cloud CDN จากนั้นกด Create
![Create-backend-bucket](https://snappytux.com/content/images/2022/01/Create-backend-bucket.png)
7. เลือก bucket ที่เรากำหนดไว้
![choose-bucket](https://snappytux.com/content/images/2022/01/choose-bucket.png)
8. มาในส่วนของ Frontend configuration
ทำการกำหนดในส่วนของ Frontend เพื่อระบุโดเมนในการเข้าถึง ทำการตั้งชื่อตามสะดวก จากนั้นเลือก Protocol เป็น HTTPS แล้วในส่วนของ Certificate เราก็จะกดสร้างใหม่
![Frontend configuration](https://snappytux.com/content/images/2022/01/frontend-config.png)
9. Create certificate
ในส่วนนี้จะเป็นการกำหนดโดเมนที่เราอยากจะใช้งาน และผมก็เลือกเป็น Create Google-managed certicate เพราะผมจะใช้ google สร้าง cert ให้ ส่วนใครมีอยู่แล้วก็เลือกเป็น Upload certificate เอาละกัน สามารถกำหนดได้ดังรูป
![create-certificate](https://snappytux.com/content/images/2022/01/create-certificate.png)
10. สรุปการตั้งค่า Frontend อีกครั้ง
![Frontend config](https://snappytux.com/content/images/2022/01/create-certificate-1.png)
11. กด Create load balancer ได้เลย
![Create load balancer](https://snappytux.com/content/images/2022/01/Classic-HTTP-S--load-balancer.png)
12. กำหนด ip ให้กับโดเมน
หลังจากสร้าง load balancer มาแล้วให้เราคลิกเข้าไป จากนั้นดู IP ที่ได้มา
![load balancer](https://snappytux.com/content/images/2022/01/load-balancer-detail.png)
ให้เรานำไปกำหนดใน DNS ที่เราใช้บริการนั้นๆ จากของผมก็จะเป็น Cloudfare
![cloudfare](https://snappytux.com/content/images/2022/01/cloudfare.png)
13. ตรวจสอบสถานะ Cert
กลับมาที่ Load balance ของเราอีกครั้งคลิกไปที่ Certificate ที่เราสร้างไว้
![certificate](https://snappytux.com/content/images/2022/01/certificate.png)
รอจนกว่าขึ้น Status active เป็นอันใช้ได้
![check certificate](https://snappytux.com/content/images/2022/01/check-certificate.png)
หลังจากนั้นลองทดสอบในการเรียกใช้ดูจะเห็นว่าเราสามารถเรียกเข้าไปหา Bucket นั้นได้ตรงๆ เลยผ่านโดเมนของเรา
![google storage and cloud cdn](https://snappytux.com/content/images/2022/01/load-balance-storage.png)
แถมเป็น Caching ให้เราด้วยผ่าน Cloud CDN ที่เรากำหนดไว้ โครตคูล...