7 บอร์ดเกมส์ที่ควรมีไว้ในองค์กร

7-board-games-teambuilding

ผมเคยเขียน 9 ข้อดีเมื่อนำ Board game มาใช้ในองค์กร แล้วว่ามันมีประโยชน์ยังไงที่เราควรนำมาใช้ในองค์กร

9 ข้อดีเมื่อนำ Board game มาใช้ในองค์กร
ในโลกปัจจุบันที่มีความวุ่นวาย และมีการเชื่อมโยงถึงกันตลอดเวลา หลายคนมีแนวโน้มที่จะทำงานมากขึ้น และหยุดพักน้อยลง และมีการเสพติดมือถือมากขึ้นไปอีก ซึ่งในโลกของการทำงานก็เป็นแบบนั้น มีการใช้ชีวิตวนแบบเดิมๆ เช่น มาทำงาน > กินข้าว > ทำงาน > กลับบ้าน แล้

แต่บอร์ดเกมส์นั้นก็มีเยอะมากในตลาด แล้วเราควรซื้อเกมส์ไหนดีละมาให้ทีมเราได้เล่นกันโดยเฉพาะเพื่อส่งเสริมการสร้างทีมและการทำงานร่วมกันภายในสถานที่ทำงานกัน และที่สำคัญมันต้องสนุกและเล่นเริ่มต้นไม่ยากสำหรับมือใหม่

7 บอร์ดเกมส์ส่งเสริมการสร้างทีมในสถานที่ทำงาน

บอร์ดเกมส์เหล่านี้จะช่วยให้พักผ่อนจากงานประจำและช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งขึ้นในที่ทำงาน

1) Codenames

Codenames

จำนวนคนเล่น 2-8 คน, ระยะเวลา 15 นาที

Codenames เป็นเกมที่มีชื่อเสียงในหมู่เกมกระดาน โดยผู้เล่นจะถูกแบ่งออกเป็นสองทีม แต่ละทีมมี Spymaster หนึ่งคนที่ให้คำใบ้เป็นคำเดียว เพื่อช่วยทีมในการเดาคำที่ถูกต้องบนกระดาน คำบนกระดานจะแทนตัวแทน, ผู้บริสุทธิ์ และนักฆ่า ทีมที่สามารถระบุตัวแทนทั้งหมดได้ก่อนจะชนะเกม แต่การเดานักฆ่าจะทำให้เกมจบลงทันทีและส่งผลให้ทีมแพ้

2) Dixit

Dixit

จำนวนคนเล่น 3-8 คน, ระยะเวลา 30 นาที

Dixit เป็นเกมเล่าเรื่องและการอนุมานที่สนุกสนาน ผู้เล่นจะผลัดกันเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยให้คำใบ้ที่ไม่ชัดเจนเกินไปและไม่คลุมเครือเกินไป เพื่อให้ผู้เล่นบางคนสามารถเดาการ์ดที่ถูกต้องได้ในขณะที่หลีกเลี่ยงการเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด ผู้เล่าเรื่องจะเลือกการ์ดจากมือของตนและให้คำใบ้หรือวลีที่เกี่ยวข้องกับภาพประกอบของการ์ดนั้น จากนั้นผู้เล่นคนอื่นจะเลือกการ์ดที่ตรงกับคำใบ้จากมือของตน และทุกคนจะลงคะแนนว่าการ์ดใดที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นของผู้เล่าเรื่อง

3) Vegas Wits & Wagers

จำนวนคนเล่น 5-21 คน, ระยะเวลา 20-30 นาที

Vegas Wits & Wagers

Vegas Wits and Wagers เป็นเกมที่ผสมผสานระหว่างการเดาและการพนัน ผู้เล่นจะตอบคำถามโดยเขียนคำตอบลงบนกระดาน จากนั้นจะจัดเรียงคำตอบจากน้อยไปหามาก ผู้เล่นต้องวางเดิมพันว่าคำตอบใดจะใกล้เคียงกับคำตอบที่ถูกต้องที่สุดโดยไม่เกิน หากคำตอบที่เลือกถูกต้อง ผู้เล่นจะได้รับชิปตามอัตราการจ่ายที่กำหนด การเล่นดำเนินไปจนถึง 7 รอบ และผู้เล่นที่มีชิปมากที่สุดเมื่อจบเกมจะเป็นผู้ชนะ.

4) Catch Sketch

Catch Sketch
ภาพจาก: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1339379930457681&id=100031570599776&set=a.785405862521760

จำนวนคนเล่น 3-6 คน, ระยะเวลา 20 นาที

Catch Sketch เป็นเกมวาดภาพที่เน้นความเร็ว ผู้เล่นจะต้องวาดภาพเพื่ออธิบายคำสำคัญให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยผู้เล่นที่เป็นผู้เดาจะต้องเดาคำจากภาพที่วาด หากเดาผิดโอกาสในการคะแนนจะถูกส่งต่อไปยังผู้เล่นคนถัดไปที่วาดเร็วกว่า วิธีการเล่นคือ:

  1. ผู้เล่นจะเลือกการ์ดที่มีคำสำคัญและเริ่มวาดภาพตามคำบนการ์ด
  2. เมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งวาดเสร็จ จะหยุดและแสดงภาพให้ผู้เดาเห็น
  3. ผู้เดาจะมีโอกาสเดาคำ ถ้าถูกต้องทั้งผู้เดาและผู้วาดจะได้คะแนนตามลำดับการวาด
  4. เกมจะดำเนินต่อไปจนกว่าจะถึงจำนวนรอบที่กำหนดหรือมีผู้เล่นที่ทำคะแนนได้ถึง 20 คะแนน

5) Deeper Talk Deck

Deeper Talk Deck

จำนวนคนเล่น 3-8 คน, ระยะเวลา 30-60 นาที

Deeper Talk Deck เป็นชุดการ์ดที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการสนทนาที่ลึกซึ้งและมีความหมาย โดยประกอบไปด้วยคำถามและหัวข้อที่ช่วยให้ผู้เล่นได้สำรวจความคิดและความรู้สึกของตนเอง รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้อื่น การ์ดในชุดนี้มีทั้งหมด 150 ใบ แบ่งออกเป็น 6 หมวดหมู่ ได้แก่ ความกล้า, ความเชื่อ, บทเรียนชีวิต, การรู้จักตนเอง, ความฝัน และการเปิดเผย วิธีเล่นก็ไม่ยาก

  1. ผู้เล่นสามารถเลือกการ์ดจากชุด Deeper Talk Deck และอ่านคำถามหรือหัวข้อที่ปรากฏ
  2. ทุกคนจะมีโอกาสตอบหรือพูดคุยเกี่ยวกับคำถามนั้น ๆ เพื่อแบ่งปันความคิดเห็นและประสบการณ์
  3. สามารถเล่นเป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทของการสนทนา

6) The Voting Game

The Voting Game

จำนวนคนเล่น 5-10 คน, ระยะเวลา 30-90 นาที

The Voting Game เป็นเกมที่เอาไว้เปิดเผยความจริงที่น่าตลกเกี่ยวกับมิตรภาพของคนในทีม ผู้เล่นจะลงคะแนนเสียงอย่างไม่ระบุชื่อในแต่ละรอบ โดยเลือกผู้เล่นที่ตรงกับคำถามที่ถูกถาม เช่น "ใครจะอยู่รอดในซอมบี้ได้ยาวนานที่สุด?" หลังจากนั้นจะมีการนับคะแนนและเปิดเผยผลให้กลุ่มเห็น ซึ่งสร้างความสนุกสนานและเสียงหัวเราะเมื่อบุคลิกภาพของเพื่อน ๆ ถูกเปิดเผย

7) Storationship

Storationship

จำนวนคนเล่น 2-6 คน, ระยะเวลา 30-90 นาที

Storationship เป็นเครื่องมือที่ถุกออกแบบโดยอ้างอิงทฤษฎีทางจิตวิทยา เพื่อให้ผู้เล่นได้บอกเล่าเรื่องราวของตนเอง (Story) ผ่านชุดการ์ดซึ่งเปรียบเสมือนพื้นที่จัดเก็บ (Storage) เรื่องราวต่าง ๆ ในการสร้าง และพัมนาความสัมพันธ์ จนเป็นที่มาของชื่อ “Storationship” ที่สำคัญเป็นของคนไทยพัฒนาขึ้นมาเอง ถ้าสนใจหาซื้อได้จาก https://www.baseplayhouse.co/shop/storationship

บทสรุป

เกมส์ที่ผมกล่าวมานี้ใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน ผู้เล่นใหม่สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก และทุกคนสามารถสนุกไปด้วยกันได้ ขนาดคนที่ไม่ค่อยชอบเล่นเกมส์ก็พร้อมสนุก และตลกขบขันกันในทีมได้มากขึ้น มันคือสุดยอดเครื่องมือที่ทำให้ทีมของเรานั้น รู้จักและเข้าใจกันมากขึ้น

เกมส์พวกนี้สามารถหาซื้อได้ในไทยนะตามแอพส้ม

ผมโครตชอบบรรยากาศตอนทีมเล่นบอร์ดเกมส์ด้วยกันเลย ให้ตายสิ เตรียมขำปอดโยกได้เลย 😂

Arnon Kijlerdphon

Arnon Kijlerdphon

Board game & Plant-based & Minimalist, it's all my life.
Bangkok, Thailand