3 วิธีดูว่าใครคือคนดี และคนไม่ดี

3 วิธีดูว่าใครคือคนดี และคนไม่ดี
วิธีดูว่าใครคือคนดี และคนไม่ดี

ผมเคยโพสต์เกี่ยวกับการเป็นคนดีว่าถ้าใครปฎิบัติตามมรรค 8 นั้น พระพุทธเจ้าจะถือว่าคนนั้นคือคนดี

คนดี...เป็นแบบไหนหรอ?
ช่วงนี้เป็นกระแสของการเลือกคนดีเข้าสภา มีใครสงสัยไหมว่าคำว่า ”คนดี” เนี้ยมันเป็นยังไง หน้าตาของคนดีต้องเป็นแบบไหน และคนแบบไหนถึงเป็นคนดี ในทางศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับการดูว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนไม่ดี โดยจะใช้คำเรียกคือ ”สัตบุรุษ = คนดี

และพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสสอนเพิ่มเติม วิธีดูตามลักษณะการกระทำของคนๆ นั้นว่า ใครคือคนดี (บัณฑิต) ใครคือคนไม่ดี (คนพาล) แบบง่ายไว้ด้วยกันก็คือ

คนดีนั้นจะประพฤติตนด้วย 1. กายสุจริต 2. วจีสุจริต และ 3. มโนสุจริต นั้นก็คือคนนั้นจะมีความสุจริตทั้งกาย วาจา และใจนั้นเอง และแน่นอนถ้าใครประพฤติตนด้วยตรงกันข้ามที่กล่าวมาก็คือคนไม่ดี โดยคนไม่ดีนั้นจะประพฤติตนด้วย 1. กายทุจริต 2. วจีทุจริต และ 3. มโนทุจริต

ดังนั้นการที่ใครจะเป็นคนดี หรือคนไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการประพฤติตัวในปัจจุบันเป็นอย่างไร ไม่ใช่ไปถามหมอดูว่าคนนั้นชาติก่อนทำเลวมา ชาตินี้ก็เลยทำเลวด้วย

หรือผมมักจะบอกกับคนอื่นๆ สั้นๆ ในการใช้ชีวิตว่า

ผมจะไม่ทำอะไรที่มันต้องเดือนร้อนตัวเอง และเดือนร้อนผู้อื่น...
และหากเราไม่ชอบการกระทำแบบไหนแล้ว ก็จะไม่ทำแบบนั้นกับผู้อื่น...

เพียงเท่านี้การใช้ชีวิตของเราก็จะดีขึ้นในทุกๆ วัน :)

พระสูตรเต็ม

[๔๔๑] ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็น

เครื่องกำหนด ปัญญางดงามในความประพฤติเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑

วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึง

ทราบว่าเป็นคนพาล บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม

๓ ประการเป็นไฉนคือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึง

รู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้นบุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ

เหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

Arnon Kijlerdphon

Arnon Kijlerdphon

Board game & Plant-based & Minimalist, it's all my life.
Bangkok, Thailand