บทความสำหรับวันขึ้นปีใหม่นี้ ผมอยากจะเขียนเพื่อให้ชาวพุทธทุกท่านเข้าใจความจริงของคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ความสุขนั้นสามารถสร้างขึ้นได้เองในทุก ๆ ปี ไม่ต้องรอใครที่จะนำมาให้เรา นั้นก็คือ การสร้างกรรมดี แล้วเราจะสร้างขึ้นมาได้ยังไง? สิ่งนั้นก็คือ บุญกิริยาวัตถุ 3 หรือที่ตั้งแห่งการทำความดี 3 ประการ ซึ่ง 3 สิ่งนี้มีอะไรบ้าง อ่านพระสูตรด้านล่าง

ภิกษุทั้งหลาย!  บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้มีอยู่

๓ ประการเป็นอย่างไร คือ


(1) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วย ทาน
(2) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วย ศีล
(3) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วย ภาวนา
บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ (1) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วย ทาน (2) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วย ศีล (3) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วย ภาวนา
เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

พระสูตรเต็ม: บุญกิริยาวัตถุ 3

1) ทาน

ทานก็คือ การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อ โดยมุ่งหวังเป็นไปเพื่อการระความตระหนี่ของตนและไม่หวังสิ่งตอบแทน โดยจะมีด้วยกัน 3 อย่างคือ

  1. อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ
  2. ธรรมทาน คือการให้ที่ไม่เป็นวัตถุสิ่งของ ได้แก่ ให้สติ ให้ธรรมะ สอนคุณธรรม ให้กำลังใจ ให้อภัย
  3. อภัยทาน คือการยกโทษด้วยการไม่พยาบาทจองเวร

ซึ่งหากเรากระทำได้ เราจะได้ผลของกรรมตามพระสูตรนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้มีอยู่ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
(๒) สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
(๓) กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป
(๔) ผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์
(๕) ผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการ.
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้.

2) ศีล

ศีล คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานเพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข โดยจะมีศีล 5 เป็นหลักข้อปฎิบัติ ซึ่งชาวพุทธก็น่าจะรู้จักดีกันทุกคน ผมจะไม่ขอลงรายละเอียด แต่จะมากล่าวถึงประโยชน์เมื่อเรากระทำได้ เราจะได้ผลของกรรมตามพระสูตรนี้

คหบดีทั้งหลาย ! อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการเหล่านี้. ๕ ประการ คือ :-  คหบดีทั้งหลาย !
(๑) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล.
(๒) เกียรติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล.
(๓) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขิน นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล.
(๔) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล.
(๕) คนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล.
คหบดีทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ ประการ.

3) ภาวนา

ภาวนา ก็คือการทำสมาธิ หรือการเจริญอานาปานสติ โดยพระพุทธเจ้าได้สอนไว้ง่าย ๆ มากเพียงแค่ ดูลมหายใจเข้า และหายใจออก ก็เพียงพอแล้ว สามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่าง

วิธีการนั่งสมาธิง่ายๆ ตามแบบพระพุทธเจ้า
วิธีการนั่งสมาธินั้นจริงๆ แล้วปฎิบัติเองได้ง่ายมาก ถ้าเราทำตามสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ซึ่งทุกครั้งที่ผมจะนั่งสมาธิ หรือทำสมาธิกับสิ่งๆ ใด ผมก็จะใช้แนวทางของพระพุทธเจ้าเป็นตัวนำทางเสมอ การนั่งสมาธิ หรือเรียกอีกอย่างว่

และถ้าเราฝึกเจริญอานาปานสติประจำ เราจะได้ผลของกรรมตามพระสูตรนี้

ภิกษุทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้; คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ก็จักเป็น อนาคามี.