ปีชงกับความเป็นชาวพุทธ

ปีชงกับความเป็นชาวพุทธ


ปีชงเป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์จีนที่แพร่หลายในสังคมไทยมาช้านาน ความเชื่อนี้มองว่าปีนักษัตรใดที่ปะทะหรือได้รับผลร้ายจากเทพเจ้า "ไท้ส่วยเอี๊ย" จะทำให้ปีนั้นจะเป็นปีที่ได้รับผลไม่ดี หรือที่เรียกว่า "ปีชง"

และไม่ได้มีพื้นฐานมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด พระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ไม่ยึดติดกับความเชื่อที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ใครที่ยึดถือเรื่องปีชงอาจเกิดความกังวลใจและวิตกกังวลจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้

ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปีชงคือความเชื่อของคนในสังคมที่สืบทอดกันมา ความเชื่อนี้อาจเกิดจากความกลัว ความกังวล หรือความหวังที่จะได้สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต ความเชื่อเหล่านี้อาจนำไปสู่การกระทำต่างๆ เช่น การไหว้พระขอพร การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการทำพิธีต่างๆ เพื่อแก้ปีชง ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจไม่ส่งผลดีต่อจิตใจและการดำเนินชีวิตของคนๆ นั้น

ในทางกลับกัน พระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เข้าใจว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย และไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ ผู้ที่เข้าใจหลักธรรมเหล่านี้ก็จะไม่เกิดความกังวลใจหรือวิตกกังวลกับปีชง

ซึ่งพอมานึกดูแล้วก็ทำให้นึกถึงพระสูตรพุทธวจนที่เหมาะสมกับเหตุการปีชงเป็นอย่างมาก ว่าจริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างไรไว้ ลองตั้งใจอ่านกันสักหน่อย...

ภิกษุทั้งหลาย
สัตว์เหล่าใด ประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้า, เวลาเช้า ก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใด ประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเที่ยง, เวลาเที่ยง ก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใด ประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเย็น, เวลาเย็น ก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.
สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็น ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี
ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา,สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว ย่อมได้ผลประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา
ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข จงงอกงามในพระพุทธศาสนา จงไม่มีโรค ถึงความสุข พร้อมด้วยญาติทั้งมวล ฯ( ติก. อํ. ๒๐/๒๘๕/๕๙๕.)

สรุปสั้นๆ ก็คือถ้าเราประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ โดยจะเป็นเวลาไหนก็ตาม เวลานั้นก็เป็นเวลาที่ดีทั้งหมด ซึ่งมันก็จะไปสอดคล้องกับความเชื่อเรื่อง เลิศงามยามดี ถ้าเราเข้าใจคำสอนบทนี้ เรื่องพวกนี้ก็จะเป็นเพียงแค่สายลมที่กระทบตัวเราและหายไป

จะไม่มีปีไหนจะมาชงกับเราได้หรอก ถ้าไม่ได้นั่งข้างถังน้ำแข็ง!!!

ดังนั้น ผู้ที่ยึดถือเรื่องปีชงควรพิจารณาถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ความเชื่อเหล่านี้ส่งผลเสียต่อจิตใจและการดำเนินชีวิตของพวกเราชาวพุทธ

Arnon Kijlerdphon

Arnon Kijlerdphon

Go plant-based, it's good for you and the planet!. Board game Lover.
Bangkok, Thailand